สาขาวิชาการป่าไม้

Bachelor of Science Program in Forestry


ชื่อหลักสูตร
      ภาษาไทย             : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการป่าไม้
      ภาษาอังกฤษ   : Bachelor of Science Program in Forestry

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา 
ชื่อเต็ม ภาษาไทย  :  วิทยาศาสตรบัณฑิต (การป่าไม้)
ชื่อย่อ  ภาษาไทย  : วท.บ. (การป่าไม้)
ชื่อเต็ม ภาษาอังกฤษ          : Bachelor of Science (Forestry)
ชื่อย่อ  ภาษาอังกฤษ  : B.S. (Forestry)
 

ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ นิเวศบริการ มีความเป็นผู้นำในการปฏิบัติด้านเทคโนโลยีการประเมินคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ และทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีคุณธรรมจริยธรรม อดทนสู้งาน คิดให้เป็น มีความใฝ่รู้ บูรณาการองค์ความรู้ทางการป่าไม้เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรป่าไม้ของประเทศเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

จุดเด่นเฉพาะของหลักสูตร
    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการป่าไม้ คณะมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เน้นเรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัตินอกห้องเรียน วิชาที่มีองค์ความรู้ทางการป่าไม้ เช่น การบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัว การจัดการคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้และสัตว์ป่า การจัดการป่าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก และการป่าไม้เพื่อสุขภาพ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับสถานการณ์โลก

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร  120 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร  
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
 - กลุ่มสังคมและวัฒนธรรม  3 หน่วยกิต
 - กลุ่มวิชาคุณค่าความเป็นมนุษย์และการใช้ชีวิต  3 หน่วยกิต
 - กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร  9 หน่วยกิต
 - กลุ่มวิชาการคิดคำนวณ การใช้เหตุผลและเทคโนโลยี 6 หน่วยกิต
 - กลุ่มวิชาการเป็นผู้ประกอบการ 3 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ 90 หน่วยกิต
 - กลุ่มวิชาแกน 41 หน่วยกิต
 - กลุ่มวิชาเอกบังคับ 40 หน่วยกิต
 - กลุ่มวิชาเอกเลือก 9 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. นักวิชาการป่าไม้ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์นักวิเคราะห์หรือชื่อตําแหน่งอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาวนศาสตร์ การป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน ภาครัฐ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน หรือองค์กรระหว่างประเทศ
2. พนักงาน/เจ้าหน้าที่/นักวิจัย ในบริษัทเอกชน ได้แก่ สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล ประเทศไทย (WWF-THAILAND) สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) ประเทศไทย แพนเทอรา (Panthera) ประเทศไทย
 3.  เจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิตในการผลิตไม้ในสวนป่าหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
 4.  ผู้ประกอบการภาคเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระ
5.  สร้างนักวิชาการยุคใหม่ที่สามารถออกไปแนะนำให้ความรู้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถจัดการพื้นที่ป่าไม้และสิ่งแวดล้อมของตัวเองให้ถูกต้องสอดคล้องกับมาตรการแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อที่จะให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่บรรลุสู่ความยั่งยืนทางด้านป่าไม้และสิ่งแวดล้อม

Contact

ติดต่อเราได้ที่ Facebook

8

วันนี้

12

เมื่อวาน

21

สัปดาห์นี้

251

เดือนนี้